วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Slide

วิธีการเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

วิธีการเลือกซื้อกล้องดิจิตอล ถ้าคุณอยากได้กล้องดิจิตอลสักตัวหนึ่งในตอนนี้ คุณจะทำอย่างไรดี เพราะตัดสินใจลำบากเหลือเกิน เพราะปัจจุบันนี้มีกล้องดิจิตอลมากมายหลายยี่ห้อให้เลือกใช้ และโดยเฉพาะมือใหม่ หรือมือสมัครเล่น ซึ่งเราจะมีวิธีการเลือกซื้อกล้องดิจิตอลอย่างไรดี งบประมาณ ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่เราต้องคำนึงถึงเลยทีเดียว ในการเลือกซื้อกล้องดิจิตอลสักตัว เพราะราคาในตลาดมีตั้งแต่กล้องแบบง่ายๆ ราคาไม่กี่พันบาท ซึ่งทำ อะไรไม่ได้มากนัก ที่พอใช้ได้จะเริ่มจากหมื่นต้นๆ ไล่เรียงลำดับไปตาม สเปค และ คุณภาพที่ดีขึ้น จนถึงหลักแสนหรือหลายๆ แสน เมื่อตั้งงบไว้แล้วเช่น สองหมื่นบาท ก็มองหาเฉพาะกล้องที่อยู่ในงบของเรา รุ่นที่มีราคาสูงกว่า คงไม่ต้องนำมาพิจารณา ให้ปวดหัว เซ็นเซอร์ภาพ ( Image sensor หรือ Image recording ) เป็น อุปกรณ์ ที่ใช้รับภาพแทนฟิล์ม บางยี่ห้อใช้ CMOS แต่ส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดใช้ CCD ซึ่งจะมีขนาดต่างกันไป ถ้า CCD มีขนาดใหญ่ราคาก็จะสูงขึ้นไปตามขนาดโดยอาจจะดูจากสเปคว่าใช้ CCD ขนาดเท่าใดเช่น 1/1.8 นิ้ว, 1/2.7 นิ้ว หรือ 2/3 นิ้ว (วัดตามแนวทแยงมุม) ความลึกของสี (Bit Depth หรือ Color Depth) ยิ่งมีความลึกของสีมากเท่าใด ก็จะเก็บรายละเอียด ของเฉดสีได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น 10 บิต/ สี หรือ 12 บิต/สี หมายความว่า สีธรรมชาติ มี 3 สีคือ RGB ถ้า 1 สี แสดงได้ 13 บิต 3 สีก็จะได้ 36 บิต เป็นต้น ถ้าเป็นกล้องระดับไฮเอนด์ อาจจะทำได้ถึง 16 บิต/สี หรือ 48 บิตที่ RGB ความละเอียด ( Effective ) เวลาซื้อกล้องดิจิตอล ที่เราเห็นในสื่อต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะ เป็นความละเอียดของเซ็นเซอร์ภาพ ขนาดภาพจริงจะน้อยกว่านั้น หาคำว่า Effective ซึ่งก็คือความละเอียดของภาพจริงๆ ของกล้องตัวนั้น ๆ ยิ่งถ้าความละเอียดมาก ยิ่งจะได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น Interpolate คือการใช้เทคโนโลยีบางอย่าง เพื่อเพิ่มความละเอียดให้สูงขึ้น เช่น Super CCD ของ Fuji หรือ HyPict ของ EPSON เป็น ต้น แต่คุณภาพจะดีไม่เท่ากับความละเอียดแท้ๆ ของ CCD แต่ก็จะดีกว่ากล้องรุ่นที่มีความละเอียดแบบ Effective เท่ากัน อย่างไรก็ตามก็นับว่า เป็นการเพิ่มคุณภาพให้ดีกว่าเดิม โดยใช้เทคโน โลยีมาช่วย ต่างกับการนำภาพ ไปเพิ่มความละเอียด ด้วยซอพท์แวร์เช่น Adobe Photo shop ซึ่งคุณภาพจะแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเพิ่มความละเอียดถึง 1 เท่าแบบนี้ วิธีการนี้เรามักจะเรียกกันว่า Interpolate ซึ่งกล้องที่มีฟังก์ชั่นเหล่านี้ จะมีเมนูให้เลือกว่าจะใช้หรือไม่

Notebook วิธีเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก คู่ใจในแบบฉบับของคุณ

ณ ช่วงเวลาอันเร่งรีบนี้ อุปกรณ์ไอทีแบบเคลื่อนที่อย่าง " Notebook (โน้ตบุ๊ก) " กำลังเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมากสำหรับนักธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้งาน เพราะในปัจจุบันนี้การเติบโตของ Notebook (โน้ตบุ๊ก) นั้น กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีความสามารถที่เทียบเท่าหรือสูงกว่าเครื่องเดสก์ทอปบางตัวด้วยซ้ำไปแล้ว จึงทำให้ Notebook (โน้ตบุ๊ก) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยในเรื่องของความคล่องตัวในการใช้งาน อีกทั้งยังมีสมรรถนะที่มากเกินตัวด้วยซ้ำไป และด้วยเทคโนโลยี Sonoma ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุดของ Intel Centrino Mobile Technology จึงทำให้ Notebook (โน้ตบุ๊ก) มีความสามารถที่เพิ่มสูงมากยิ่งขึ้น อีกยังในตอนนี้ยังมี Notebook (โน้ตบุ๊ก) แบบ BTO กำเนิดขึ้นมาอีก ซึ่งสามารถที่จะทำการจัดสเปคเองได้อีก ทำให้ถูกใจผู้ใช้อีกหลายๆ คนเลยทีเดียว

ส่วนประกอบต่างๆ ของ Notebook (โน้ตบุ๊ก)
โดยส่วนใหญ่แล้ว Notebook (โน้ตบุ๊ก) จะมีโครงสร้างและลักษณะที่คล้ายๆ กัน จะมีแตกต่างกันกตรงที่น้ำหนัก สเปกภายในเครื่อง วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องและสีสัน รูปร่างหน้าตา ก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของ Notebook (โน้ตบุ๊ก) ของแต่ละยี่ห้อ ส่วนประกอบและโครงสร้างจะคล้ายคลึงกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดสก์ท็อป ทั่วๆ ไป คือมีทั้ง ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ต่างๆ ว่าแล้วก็มาเริ่มลงรายละเอียดกันเลยดีกว่าครับ

คำแนะนำในการเก็บรักษาวัคซีน

การดำเนินการเมื่อพบความผิดปกติของวัคซีน
ในกรณีที่พบความผิดปกติของวัคซีน ขอให้เจ้าหน้าที่บันทึก Lot No. รวมทั้งจำนวนวัคซีนที่เกิดความผิดปกติแล้วรีบรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมทั้งระงับการใช้วัคซีนนั้นไว้ก่อน ที่สำคัญคือ ขอให้เก็บรักษาวัคซีนที่มีปัญหานั้นไว้ในระบบลูกโซ่ความเย็น ณ สถานที่ที่พบความผิดปกติไว้ก่อน ไม่ควรรีบเก็บวัคซีน Lot ดังกล่าวส่งคืนมาสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด / สำนักงานควบคุมโรคติดต่อเขต / กรมควบคุมโรคติดต่อ ทั้งนี้ เพื่อรอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป
เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับแจ้งขอให้ตรวจสอบระบบลูกโซ่ความเย็นว่าวัคซีน Lot ดังกล่าวรับมาตั้งแต่เมื่อใด จ่ายไปที่ใดบ้างในปริมาณเท่าใด และวัคซีนหมดอายุเมื่อใด นอกจากนี้ขอให้ตรวจสอบสถานที่เก็บวัคซีนหรือสถานบริการแห่งอื่นด้วยว่ามีปัญหาเดียวกันหรือไม่
การดูแลรักษาตู้เย็นและการเก็บรักษาวัคซีน
ไม่เก็บวัคซีน ดีทีพี, ดีที, ทีที, ตับอักเสบบี, เจอี, เซรุ่มแก้พิษงูชนิดน้ำ, เตตานัส แอนตี้ท็อกซินในชั้นที่ใกล้กับช่องแช่แข็ง เพราะจะทำให้เย็นจัดจนทำให้วัคซีนแข็ง เมื่อวัคซีนแข็งแล้วจะเสื่อมคุณภาพไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก สำหรับชั้นบนใกล้ช่องแช่แข็ง ควรเก็บวัคซีน หัด, เอ็ม เอ็ม อาร์ และบีซีจี สำหรับโอพีวีให้เก็บในช่องแช่แข็ง
ไม่เก็บวัคซีนบริเวณฝาตู้เย็น เพราะบริเวณนี้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
เรียงวัคซีนและน้ำยาละลายให้เป็นระเบียบ
เก็บวัคซีนที่เบิกใหม่ไว้ด้านใน และวัคซีนที่เบิกก่อนไว้ด้านนอก เมื่อเวลาต้องการใช้ก็หยิบวัคซีนเก่ามาใช้ก่อน
เก็บวัคซีนแยกชนิดไม่ปะปนกัน>
วัคซีนแต่ละแถวอย่าวางให้ชิดกัน ควรวางในถาดเจาะรู จะทำให้อากาศเย็นหมุนเวียนไปได้ย่างทั่วถึง
ในช่องแช่แข็งให้เก็บ ice packs และแช่ขวดใส่น้ำไว้ที่ชั้นล่างของตู้เย็น และฝาตู้เย็นเพราะจะทำให้อุณหภูมิภายในตู้เย็นคงที่ และเมื่อไฟฟ้าดับจะทำให้สามารถเก็บความเย็นไว้ได้ระยะหนึ่ง
สำหรับตู้เย็นที่มีแสงแดดส่องได้แนะนำให้ย้ายมาวางในบริเวณที่แสงแดดส่องไม่ถึง
ในการบันทึกอุณหภูมิตู้เย็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ควรตรวจสอบอุณหภูมิที่บันทึกว่าอยู่ในระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม (2-8 องศาเซลเซียส) หรือไม่ ถ้ามีระดับต่ำกว่าหรือสูงกว่า 2-8 องศาเซลเซียส ควรมีการปรับปุ่ม thermostat ของตู้เย็นให้เหมาะสม หากปรับแล้วอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงควรพิจารณาส่งซ่อม โดยเร็วที่สุด

สารอาหารต้านโรคตา

ปัญหาของโรคตาที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะตาบอดหรือความบกพร่อง ในการมองเห็นนั้น เป็นความพิการที่น่าสลดใจ ปัญหาตาบอดหรือสายตาเสีย มักจะเกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งความพิการทางตานี้สามารถป้องกัน และรักษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีความเกี่ยวพันกับภาวะขาดสารอาหาร สารอาหารที่มีข้อมูลสนับสนุนว่ามีความสัมพันธ์กับโรคตา คือ วิตามินเอ ธาตุสังกะสี วิตามินอี และวิตามินซี
วิตามินเอ วิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน แหล่งอาหารที่ให้ วิตามินเอสูง ได้แก่ ตับ ไข่แดง น้ำมันตับปลา นม ผักใบเขียวเข้ม มะละกอ ฟักทอง มะม่วงสุก ฯลฯ วิตามินเอมีความสำคัญต่อ ร่างกายในด้านการมองเห็นในแสงสลัว การบำรุงรักษาเซลล์บุผิว การเจริญเติบโต การทำงานเป็นปกติของระบบสืบพันธุ์ และ ระบบภูมิคุ้มกัน

ตะคริว (ตะคิว)

ตะคริว คือ การที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน ซึ่งมักเป็นที่กล้ามเนื้อแขนและขา โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดไม่เกินสองนาที แต่อาจมีบางรายเกิดนานได้ถึงห้านาทีหรือนานกว่านั้น ในบางรายอาจเกิดบ่อยจนทำให้เกิดความทุกข์ทรมานได้ โดยทั่วไปตะคริวมักเกิดกับนักกีฬาที่เล่นกีฬาหนัก ผู้สูงอายุ ผู้หญิงมีครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ป่วยโรคไตวายที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องไตเทียมและเกิดในตอนกลางคืน แต่ก็อาจเกิดในคนอายุน้อยและเกิดได้ทุกเวลา อาการนี้ถึงแม้จะไม่ส่งผลเสียถึงแก่ชีวิต แต่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ถ้าเกิดระหว่างว่ายน้ำ หรือขับรถ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้


สาเหตุของการเกิดตะคริว

สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด มีหลายทฤษฎี อาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ ทำให้มีการหดรั้ง เกร็งได้ง่ายเมื่อมีการใช้กล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากเซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติไป และประการสุดท้ายอาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดีพอซึ่งมักพบในคนที่มีโรคที่ทำให้หลอดเลือดตีบ เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งอาจแจกแจงสาเหตุเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
- ร่างกายที่ขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น ท้องเสียอย่างรุนแรง ผู้ที่ทานยาขับปัสสาวะ ผู้ที่เสียเหงื่อมาก
- การออกกำลังกายมากเกินไปโดยไม่ได้อบอุ่นร่างกายก่อน (warm-up)
- การอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น นักเขียนเป็นตะคริวที่มือจากการจับปากกาเป็นเวลานาน
- กล้ามเนื้อมีเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ เพราะกล้ามเนื้อต้องการออกซิเจนจากเลือดมากขึ้นในขณะที่มีการออกกำลังกายหนัก
- ความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย

วิธีแก้ตะคริว การดูแลตนเองเมื่อเป็นตะคริว การรักษาอาการตะคริว


วิธีบรรเทาอาการทั่ว ๆ ไป
1. ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว เช่น ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อน่อง ให้เหยียดเข่าและกระดกปลายเท้าขึ้นหรือยืนกดปลายเท้ากับพื้น งดเขาและโน้มตัวไปข้างหน้า 2. ทาและคลึงเบาๆ ด้วยยาทาแก้ปวดหลังการยืดกล้ามเนื้อแล้ว 3. ประคบด้วยน้ำอุ่น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อท้อง 4. ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
ถ้าเป็นบ่อยมากควรหาสาเหตุ ตรวจเช็คว่ายาที่รับประทานอยู่เป็นสาเหตุของตะคริวได้หรือไม่ อาจต้องตรวจหาโรคทางกายดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบสาเหตุ
การรักษาที่ดีดังที่กล่าวไปแล้วคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว นั้นให้คลายออกอย่างช้าๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิดเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน ก็ให้ทำการดันปลายเท้าให้กระดกขึ้นช้าๆ แต่ห้ามทำการกระตุก กระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ในรายที่เป็นบ่อยๆ มีการใช้ยาบางอย่าง เช่น ควินีนและยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด ซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ เช่น 4-6 สัปดาห์และดูการตอบสนอง แต่ผลการศึกษาถึงประโยชน์ยังไม่ชัดเจนนักและอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย เช่น เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ ตับอักเสบ หูอื้อ เสียงดังในหู เวียนศีรษะได้ เป็นต้น ดังนั้นโดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้ใช้กันทั่วไป ถ้ามีอาการเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก ควรปรึกษาแพทย์

ประวัติฟุตบอล ความเป็นมาของฟุตบอล

ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติกาการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ